THE VR ARTS

Development strategy

During the development of the artworks for this study, a thorough literature review and expert consultation were conducted. Virtual reality, in the direction suggested by the researcher, is ideal as a Buddhist learning medium, according to experts.In addition, the researcher conducted a field experiment to demonstrate virtual reality’s effectiveness as a learning medium by comparing it to other mediums when representing the same content. According to the study, virtual reality allows for first-person narration, which enhances the viewer’s sense of immersion in the story. When compared to other mediums, the study found that audiences showed the greatest interest in viewing content in VR. In VR, the average viewing time is 126 seconds, compared to 30 seconds for still images, 65 seconds for narrated audio, and 42 seconds for written material. Furthermore, in VR, the audience can maintain information better on average. This research was presented at the IEEE VR 2019 conference in Osaka, Japan.

VR is an agreeable medium to Perception theory which states humans rely mainly on sight and sound (75% and 13% respectively) for VR predominantly utilizes visual and audio. In the VARK learning theory, VR can accommodate all four types of learning modes: visual, auditory, reading, and kinesthetic. Most importantly VR can be developed as a multi-level interaction experience which can be categorized as a “Contrived Experience”-one of the most effective learning experiences according to Dale’s cone of learning.

“enLIGHTen-ment” employs visual animation, narration, text, and interaction to represent 3 events as New Media Artworks that are either “Data-Intensive” or “Process-Intensive”. The audience can assume 3 different interaction roles 1. Spectator, 2. Actor, or 3. Cre-Actor.

แนวทางการพัฒนาผลงาน

สำหรับผลงานสร้างสรรค์ชุด “แสงแห่งการตรัสรู้” ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในแต่ละศาสตร์ จากนั้นจึงทำการสังเคราะห์เป็นกระบวนทัศน์ในการออกแบบนิวมีเดียอาร์ตการตรัสรู้ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านต่างมีความเห็นตรงกันถึงความเหมาะสมและแนวทางการนำเสนอที่ผู้วิจัยได้พัฒนา นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดลองภาคสนามถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพของ VR ในการใช้เป็นสื่อใหม่ในการเรียนรู้โดยทำการทดลองวิจัยเชิงคุณภาพเปรียบเทียบ VR กับสื่อประเภทต่าง ๆ ที่นำเสนอเนื้อหาเดียวกัน พบว่า VR เป็นสื่อสามารถเล่าเรื่องผ่านมุมมองบุคคลที่ ๑ ตามทฤษฎีการเล่าเรื่อง ทำให้ผู้ชมเสมือนมีประสบการณ์ร่วม จึงให้ความสนใจรับชม VR นานกว่าสื่อประเภทอื่น โดยใน VR ผู้ชมใช้เวลาเฉลี่ย ๑๒๖ วินาที ในขณะที่สื่อประเภทภาพนิ่งเฉลี่ยอยู่ที่ ๓๐ วินาที สื่อประเภทเสียงบรรยายเฉลี่ยอยู่ที่ ๖๕ วินาที และสื่อประเภทตัวอักษรอยู่ที่ ๔๒ วินาที โดยผู้ชมยังสามารถจดจำเนื้อหาที่นำเสนอด้วย VR ได้มากกว่าสื่ออื่น ๆ การทดลองชุดนี้ได้นำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IEEE VR 2019 ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น (Karnchanapayap, 2019)

ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า VR เป็นวิทยาการที่สอดคล้องกับทฤษฎีการรับรู้เพราะมนุษย์เราอาศัยประสาทการรับรู้ทางการมองเห็น ๗๕% และทางการได้ยิน ๑๓% VR สามารถนำเสนอทั้งภาพ เสียง ตัวอักษร และการมีส่วนร่วมโดยการมีปฏิสัมพันธ์ และสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ VARK และทฤษฎีการมีปฏิสัมพันธ์ โดยถูกจัดให้เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบจำลองสถานการณ์ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงตามแนวทฤษฎีกรวยการเรียนรู้

ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการนำเสนอให้มีทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยายประกอบ ตัวอักษร และการมีส่วนร่วมของผู้ชม นำเสนอเหตุการณ์ทั้ง ๓ ช่วงของการตรัสรู้ ทั้งแบบประเภทเน้นการนำเสนอข้อมูลและประเภทเน้นกระบวนการรับชม โดยได้ออกแบบให้ผู้ชมมีระดับการมีปฏิสัมพันธ์ต่างกัน ๓ ระดับสำหรับแต่ละช่วงของการตรัสรู้์ ผู้ชมสามารถสวมบทบาทเป็น ๑. ผู้สังเกตการณ์ ๒. ผู้อยู่ในเหตุการณ์ หรือ ๓. ผู้ร่วมสร้างผลงาน

View Artworks embedded on this site

รับชมผลงานบนเว็บไซต์นี้

ระดับผู้ชมเป็นผู้สังเกตุการณ์

ระดับผู้ชมเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์

ระดับผู้ชมเป็นผู้ร่วมสร้างผลงาน

View Artworks on YouTube

รับชมบน YouTube

The original artworks were designed to be best experienced in a Physical Exhibition. To be fully immersed in the artworks, the audience is required to wear a VR head-mounted display and use a VR controller to interact with the works. For the purpose of displaying the works online, the experiences were recorded as stereoscopic videos. The followings are the options for viewing the artworks:

ถึงแม้ผลงานในชุดนี้จะถูกออกแบบมาให้รับชมในรูปแบบนิทรรศการ โดยผู้ชมรต้องสวมจอแสดงผลแบบสวมศีรษะและใช้อุปกรณ์ควบคุมเพื่อให้ได้อรรถรสในการรับชมมากที่สุด สำหรับนำเสนอในบนเว๊บไซต์แล้ว ผู้วิจัยได้ทำการบันทึกประสบการณ์การรับชมผลงานแต่ละชิ้นในรูปแบบ VR Video ในการรับชม ท่านสามารถรับชมได้ ๒ โหมด

  • Stereoscopic VR Video: You must own a VR headset allowing you to view Youtube VR content such as Oculus Quest, Oculus Rift, HTC Vive, Valve Index, HP Reverb G2, or any major headsets that can access YouTube VR content. Yes-a Google Card Board with your smartphone would work as well.

  • รับชมแบบ VR: ผู้ชมต้องมีจอแสดงผลแบบสวมศีรษะ ที่สามารถรับชม YouTube VR ได้ โดยอุปกรณ์ที่รองรับได้แก่ Oculus Quest, Oculus Rift, HTC Vive, Valve Index, HP Reverb G2, หรือ จอแสดงผลแบบสวมศีรษะที่สามารถเข้าถึง YouTube VR ได้ (ท่านสามารถรับชมด้วย Google Card Board กับมือถือของท่านได้เช่นกัน)