Introduction by the Advisor
Asst.Prof. Atithep Chaetnalao (PhD)

“The New Paradigm of Creating and Experiencing Enlightenment New Media Art Through Virtual Reality” by Gomesh Karnchanapayap stimulatingly presents a new Buddhist learning innovation through Virtual Reality. The researcher successfully created effective virtual reality learning environments by assigning various roles to the audience: “spectator,” “actor,” and “cre-actor” by assimilating the learning theory, perception theory, interaction theory, and the cone of learning. The audience will gain different levels of learning comprehension in this paradigm: “remember,” “know,” and “understand.” The research methodologies used were literature reviews on theories and Buddhist texts, hypothesis creation, prototype development, expert consultations, and volunteer testing on target groups, all of which resulted in theoretically and practically sound conclusions.

This study is a significant step forward in pioneering Buddhist learning through Virtual Reality perception design. The researcher has effortlessly bridged the two worlds by using new digital technologies to tell the Buddha’s tale. This fusion provides an aesthetically appealing Buddhist learning platform for the audience to immerse themselves in and learn effectively in every level, establishing it as a creative way of learning for the twenty-first century, as evidenced by the “enLIGHTen-ment” exhibition and the book you are reading.

As the advisor for this doctoral thesis, I’d like to congratulate Gomesh on his tenacity and perseverance in creating the new body of knowledge and artworks over the last three years. Both academic and Buddhist communities would profit from the outcome. This study, I believe, has laid a critical foundation that will be built upon in the future.

Asst.Prof. Atithep Chaetnalao (PhD)

Thesis Advisor, PhD Program in Design

Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University


การวิจัยเรื่อง “กระบวนทัศน์ใหม่ในงานนิวมีเดียอาร์ตการตรัสรู้ผ่านวิทยาการโลกเสมือน” ของโกเมศ กาญจนพายัพ ได้นำเสนอแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิทยาการโลกเสมือนได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเป็นการศึกษาพระพุทธประวัติช่วงการตรัสรู้กับวิทยาการความเป็นจริงเสมือน โดยการศึกษาการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการรับรู้ ร่วมกับศึกษารูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์จากทฤษฎีการมีปฏิสัมพันธ์และทฤษฎีกรวยการเรียนรู้เพื่อค้นหารูปแบบการนำเสนอที่ผู้ชมมีบทบาทเป็นผู้สังเกตการณ์ ผู้ร่วมในเหตุการณ์ และผู้ร่วมสร้าง ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ในระดับรู้จำ รู้จริง และรู้แจ้ง ตลอดจนการดำเนินการวิจัยที่ใช้เป็นแนวทางหลัก คือ การศึกษาทฤษฎี การศึกษาพระพุทธประวัติ การพัฒนากระบวนทัศน์ การพัฒนาต้นแบบ การวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ และการทดสอบกลุ่มอาสาสมัครฯ ถือว่าการวิจัยและพัฒนามีความลุ่มลึกทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

ผลที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการบุกเบิกครั้งสำคัญในการออกแบบการรับรู้ใหม่ผ่านวิทยาการโลกเสมือนในเรื่องการตรัสรู้ เป็นการหลอมรวมไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ในงานนิวมีเดียอาร์ตให้ประจักษ์ขึ้น และช่วยสร้างสุนทรียรสแห่งการรับรู้เรื่องการตรัสรู้ได้สมบูรณ์ขึ้นในหลายมิติ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านพระพุทธประวัติ โดยการผสมผสานดิจิทัลเทคโนโลยีสมัยใหม่กับพระพุทธประวัติช่วงการตรัสรู้ ซึ่งเป็นการเชื่อมระหว่างโลกทั้งสองใบได้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในบริบทปัจจุบัน สามารถรับรู้ความเป็นไปได้ดังกล่าวได้จริงจากการแสดงนิทรรศการชุด “แสงแห่งการตรัสรู้” และคู่มือสรุปงานวิจัยขอโกเมศ กาญจนพายัพ ในครั้งนี้

สุดท้ายนี้ในฐานะที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์นี้ ต้องของแสดงความยินดีกับโกเมศ กาญจนพายัพ ที่มีความมุ่งมั่นและพยายามอย่างเต็มที่ในการศึกษาตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และการพัฒนาองค์ความรู้ในครั้งนี้ โดยมีผลงานออกมาอย่างสมบูรณ์เห็นเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์กับวงการการศึกษาวิทยาการโลกเสมือนกับพุทธประวัติ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคตต่อไป






ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อติเทพ แจ้ดนาลาว

อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการออกแบบ

คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร