THE RESULTS
INNOVATION PERFORMANCE
The exhibition of the prototypes was held at Sathorn 11 Art Space between 7th-26th December 2020. Data Collection from 107 visitors revealed that on average audiences spent the longest time (740 seconds) when they can create or alter elements within the artworks. Followed by the works which place the audiences in simulated situations (560 seconds). The works that the audiences spent the shortest time viewing were those in which the role of the audiences was spectator (310 seconds). Regardless, these numbers are considerably higher than the study conducted by Jeffrey Smith and Lisa Smith on the average time viewing masterpieces (17 seconds) in an art gallery setting (Smith & Smith, 2001).
ประสิทธิภาพของนวัตกรรม
ผู้วิจัยได้จัดนิทรรศการต้นแบบนิวมีเดียอาร์ตการตรัสรู้ด้วยวิทยาการความเป็นจริงเสมือน ณ สาทร 11 อาร์ตสเปซ ระหว่างวันที่ ๗-๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมีผู้เข้าชมจำนวน ๑๐๗ ท่าน จากการสังเกตพฤติกรรมผู้ชมระหว่างการรับชมผลงาน พบว่าผู้ชมใช้เวลาในการรับชมผลงานนานที่สุดเมืิ่อรับชมผลงานที่สวมบทบาทเป็นผู้ร่วมสร้างเฉลี่ยใช้เวลา ๗๔๐ วินาที รองลงมาคือผู้ชมเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์เฉลี่ยใช้เวลา ๕๖๐ วินาที และใช้เวลาน้อยที่สุดเมื่อผู้ชมเป็นผู้สังเกตการณ์เฉลี่ยใช้เวลา ๓๑๐ วินาที นับว่าผู้ชมให้ความสนใจมากในการรับชมเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในการรับชมจากงานวิจัยโดย Jeffrey Smith และ Lisa Smith ที่ผู้ชมใช้เวลาในการรับชมเพียง ๑๗ วินาที (Smith & Smith, 2001)
The data gathered from experts and viewers was evaluated by the researcher and used to refine the artworks. On March 7th, 2021, the revamped exhibition “enLIGHTen-ment” was held at Hua Chang Heritage Hotel. The goal of this exhibition was to evaluate the innovation’s performance. There were 48 participants in total. Pre-examination and post-examination were required from all participants. This procedure assesses the audience’s knowledge of enlightenment before and after seeing the exhibition. Each evaluation has a maximum possible score of 10.
The average score before seeing the exhibition is 5.93, with a standard deviation of 1.75. After seeing the exhibition, the average score is 8.90, with a standard deviation of 1.38. As seen in Table below, all viewers performed better after seeing the exhibition. This validates the innovation’s efficacy as a Buddhist learning tool.
ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญและผู้รับชมผลงานต้นแบบนิวมีเดียอาร์ตการตรัสรู้มาวิเคราะห์และใช้ในการปรับปรุงผลงาน ในผลงานชุด “แสงตรัสรู้” ซึ่งจัดแสดง ณ โรงแรมหัวช้าง วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๔ ผู้วิจัยได้ทดสอบประสิทธิภาพของผลงานนิวมีเดียอาร์ตการตรัสรู้ด้วยวิทยาการความเป็นจริงเสมือนที่ได้ทำการปรับปรุงแล้วกับผู้ชมจำนวน ๔๘ ท่าน ให้ผู้ชมทำแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาการตรัสรู้ทั้ง ๓ ช่วง ทั้งก่อนและหลังการรับชมผลงานจำนวน ๑๐ คำถาม
ผู้วิจัยได้กำหนดคะแนนตามที่ผู้ชมสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องทั้งก่อนและหลังการรับชมเป็นช่วงคะแนนดังตารางด้านล่าง (ตอบถูก ๐ ข้อ, ตอบถูก ๑-๓ ข้อ, ตอบถูก ๔-๖ คะแนน, ตอบถูก ๗-๘, และ ตอบถูก ๙-๑๐) ผลการทดลองปรากฏว่า ก่อนรับชมผลงาน ผู้ชมตอบถูกเฉลี่ย X - ๕.๙๓ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = ๑.๗๔ หลังรับชมผลงาน ผู้ชมตอบถูกเฉลี่ย X - ๘.๙๐ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = ๑.๓๘ พบว่าผู้เข้าชมทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่นำ เสนอมากขึ้นอย่างมีนัยยะ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของนวัตกรรมนิวมีเดียอาร์ตการตรัสรู้ด้วยวิทยาการความเป็นจริงเสมือนเมื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
AUDIENCE SATISFACTION
Data from 48 survey questionnaires revealed that the audience gave an average satisfaction score of 4.7 with a standard deviation of 0.5. This means the audiences were highly satisfied while experiencing the works in “enLIGHTen-ment”.
ความพึงพอใจของผู้ชม
จากแบบสอบถามผู้รับชมผลงาน ทั้ง ๔๘ ท่าน ผู้ชมให้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย X - ๔.๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = ๐.๕ หมายความว่าผู้ชมมีความพึงพอใจมากที่สุดในการรับชมงานชุด “แสงแห่งการตรัสรู้” นำเสนอในตารางที่ ๒
CONCLUSION
Via virtual reality artworks, “enLIGHTen-ment” incorporates both computer advancements and human intelligence to transport the viewer to an effective and appropriate Buddhist learning platform.
สรุปผล
ผลงานสร้างสรรค์ชุด “แสงแห่งการตรัสรู้” เป็นการใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีผนวกกับสติปัญญาของศิลปินในการเชื่อมผู้ชมสู่โลกเสมือนจริงเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาพระพุทธประวัติได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ