BUDDHIST LEARNING TOOLS

BUDDHIST TEXTS

The earliest known Buddhist artifacts were written in Pali glyphs on wood barks, according to archeological discoveries along the Afghanistan-Pakistan border in 1955. According to Dr. Mark Allon, a professor at Sydney University, the object is over two thousand years old. It was probably written around 300 B.E. (Moldovan, 2019).  Buddhist texts were also passed down through the generations in Thailand in the form of Bai Lan Scripture.

Buddhists consider writing on organic materials to be the first step in using technology to pass on the story of Lord Buddha.

These scriptures were most likely brought to Thailand by Lanka Buddhist monks, as Lanka was the location of the 5th sort out of Tripikata ceremony.

การจารึกในพระพุทธศาสนาแบบอักขระ

แรกเริ่มเดิมทีพระพุทธศาสนามีการสืบทอดต่อกันมาผ่านการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบบริเวณชายแดนระหว่างประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถานในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ บันทึกดังกล่าวเป็นการจารึกบนเปลือกไม้ Dr. Mark Allon อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่า จารึกนี้เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกค้นพบ ซึ่งมีอายุราว ๓๐๐ ปีหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานหรือประมาณ ๒ พันกว่าปีก่อน (Moldovan, 2019)

การเขียนบันทึกลงบนวัสดุต่าง ๆ ถือเป็นการเริ่มใช้เทคโนโลยีในการสืบสานพระพุทธศาสนา

ในประเทศไทยเองก็มีการบันทึกในลักษณะตัวอักษรในรูปแบบคัมภีร์ใบลานซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ คาดว่าในไทยน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ซึ่งเป็นประเทศที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๕ ในช่วงพุทธศักราช ๔๕๐ หรือ กว่าสองพันปีก่อน

BUDDHIST ART: STATUES

Aside from Buddhist texts and scriptures, Buddhist arts have played an important role in the transmission of Buddhist philosophy. Sculpture is a common Buddhist art form. Carving, sculpting, casting, and 3D printing are among some of the techniques used to create these sculptures.

The Seated Buddha of Gandhara is the oldest known Buddha statue. The statue is thought to have been created about 200 A.D., or around 1,800 years ago (Oppen, 2018)

พุทธศิลป์ : งานประติมากรรม

รูปแบบการถ่ายทอดพระพุทธศาสนานอกจากการจารึกอักษรแล้วยังมีในรูปแบบงานประติมากรรมซึ่งเป็นรูปแบบงานพุทธศิลป์ที่นิยมมาแต่ครั้งโบราณกาล หากวิเคราะห์แล้วเทคโนโลยีในการรังสรรค์งานประติมากรรม ประกอบด้วยการแกะวัสดุ การปั้นด้วยวัสดุต่าง ๆ การหล่อ และในปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นการพิมพ์ ๓ มิติ

ประติมากรรมพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ คือรูปแกะหินจากแคว้นคันธราช ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตแดนประเทศปากีสถาน หลักฐานทางโบราณคดีพิสูจน์ว่ารูปปั้นนี้ถูกสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๗๔๐ หรือประมาณ ๑,๘๐๐ ปีก่อน (Oppen, 2018)

BUDDHIST ART: PAINTINGS

Painting has been around for a long time. Caves and walls were used as canvases by men. To provide artists with vibrant ingredients, pigments were extracted from natural materials. Painting as a technology was widely adopted, as Buddhist mural paintings can be found in nearly every temple.

The picture on this page’s header was painted by a Spanish artist Eduardo Chicharro around 1916-1921 AD. The title of the painting is “Las tentaciones de Buda” which means The temptation of Buddha. The painting is currently housed in the Academia de Bellas Artes de San Fernando (St. Ferdinan’s Academy of Fine Arts) in Madrid, Spain.

พุทธศิลป์ : งานจิตรกรรม

การวาดรูประบายสีเป็นเทคโนโลยีที่อยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาหลายพันปี มนุษย์ใช้ผนังถ้ำและผนังอาคารในการระบาย เม็ดสีถูกสกัดจากวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติเพื่อนำมาแต่งแต้มงานศิลปะตามที่ศิลปินต้องการ จะเห็นได้ว่าในวัดหรือศาสนสถานของศาสนาพุทธ ล้วนมีภาพจิตรกรรมฝาหนังที่ถ่ายทอดเรื่องราวพระพุทธประวัติ

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปในหลายทวีปผ่านภาพจิตรกรรม ภาพบนหัวกระดาษหน้านี้เป็นภาพวาดโดยศิลปินชาวสเปนชื่อ Eduardo Chicharro วาดขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๔๕๙-๒๔๖๔ นำเสนอพระพุทธเจ้าขณะเผชิญ ๓ ธิดามาร ปัจจุบันภาพนี้แขวนอยู่ที่ La Academia de Bellas Artes de San Fernando (The Academy of fine arts of St. Ferdinan) กรุงมาดริด ประเทศสเปน

BUDDHIST ART: PRINTING MEDIA

A new archeological discovery in 1907 AD revealed yet another important piece of Buddhist evidence. Mogao Caves in Dunhuang, Gansu, China was the place. Numerous Buddha statues, cave paintings, and, most notably, a printed Buddhist book—The Diamond Sutra—can be found in the cave system. The book itself reveals the publication date, at the inner end reads: “Reverently made for universal free distribution by Wang Jie on behalf of his two parents on the 15th of the 4th moon of the 9th year of Xiantong”. The 9th year of Xiantong is 868 AD. So the book was printed around one thousand one hundred fifty-five years ago. This makes The Diamond Sutra the oldest publication known to man (Rawson, 1992).

Since printing is a mass-produced and portable medium, it has become an important means of disseminating Buddhist texts and art. Digitally fabricated artworks printed on different mediums, such as the artwork by master Krishna, are now part of this technology.

พุทธศิลป์ : สื่อสิ่งพิมพ์

เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานสำคัญทางพุทธศาสนา ณ ถ้ำผาม่อเกา เมืองตันฮอง มณฑลกานสู ประเทศจีน ซึ่งมีทั้งจิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้นจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่น่ามหัศจรรย์และได้ถูกค้นพบที่นี่คือหนังสือพระสูตรของพระพุทธศาสนาชื่อวัชรปรัชญาปารมีสูตร ซึ่งถือเป็นเอกสารพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในหนังสือเล่มนี้มีข้อความบอกถึงอายุ ดังนี้ “ศักราชฮัมทงปีที่ ๙ เดือน ๔ วันที่ ๑๕ เฮ่งกาย (ชื่อคน) สร้างขึ้นเป็นธรรมทานอุทิศ บูชาแด่บิดามารดาทั้งสอง” ซึ่งศักราชฮัมทง ปีที่ ๙ ตรงกับ พ.ศ. ๑๔๑๑ (Rawson, 1992)

เทคโนโลยีการพิมพ์ กลายเป็นวิทยาการใหม่ในการสืบสานพระพุทธศาสนาเพราะวิทยาการนี้ สามารถผลิตซ้ำได้จำนวนมาก ๆ โดยหนังสือหรือสิ่งพิมพ์มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา จึงสามารถพกพา หรือขนย้ายได้สะดวกกว่าสื่ออื่น ๆ ทำให้สามารถใช้ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันงานสิ่งพิมพ์ยังรวมไปถึงงานศิลปะที่สร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมดิจิทัลแล้วนำมาพิมพ์บนวัสดุต่าง ๆ ดังเช่นผลงานอาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์

BUDDHIST ART: MANGA

Manga is a graphic novel genre that originated in Japan. In 1972 AD, during the golden era of manga pop culture. Osamu Tezuka, an acclaimed manga artist, created a unique interpretation of Gautama Buddha’s life in the manga “Buddha.” Buddha has sold more than 20 million copies and won Eisner Awards in 2004 and 2005 (Godart, 2013).

As you can see, the same technology that was used to print the Diamond Sutra thousands of years ago is now being used to spread the Buddha’s tale, although in a newer and more “easily digestible” format of Manga. This enables Buddha’s teachings to reach many more people.

พุทธศิลป์ : มังงะ

มังงะหรือการ์ตูนช่องของญี่ปุ่น เป็นสื่อสิ่งพิมพ์คู่วัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นการใช้รูปวาดและตัวอักษรในการถ่ายทอดเรื่องราว ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ อาจารย์ เทะซึกะ โอะซะมุ นักวาดมังงะญี่ปุ่นได้เริ่มเขียนมังงะตีความพุทธประวัติของพระโคดมพุทธเจ้า ปัจจุบันมังงะเรื่องนี้ได้ถูกตีพิมพ์ไปกว่า ๒๐ ล้านเล่ม และได้รับรางวัล Eisner ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ และ ๒๕๔๘ ต่อเนื่อง ๒ ปีซ้อน (Godart, 2013)

จะเห็นได้ว่าผลงานชุดนี้ยังเป็นสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นสิ่งคิดค้นที่มีมาหลายพันปี วิทยาการเดียวกับที่ใช้พิมพ์วัชรปรัชญาปารมีสูตร สิ่งพิมพ์ทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่เล่มหนึ่งของโลก แต่สิ่งที่อ.โอะซะมุ ทำคือการปรับรูปลักษณ์ให้เข้ากับยุคสมัยในแบบที่ “ย่อยง่าย” เหมาะสำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ซึ่งการปรับรูปแบบนี้เอง ทำให้พระพุทธศาสนาเข้าถึงคนหมู่มากขึ้น

BUDDHIST ART: THAI COMICS

Thai comics have a long tradition, dating back over 80 years. There were caricatures and cartoons before that. Western drawings inspired Thai comics in the beginning. Artists would trace original works, translate, reprint, and sell them to Thai readers at the time. Action-adventure, such as gun and sword fighting, was a common genre in Thai comics at the time. There were also several comics aimed at families. Illustrations started to breathe life into the concept of using comics to tell the Buddha’s story around this time. Hem Vejakorn, Payut Ngaokrajang and Kamnuan Chananto prominent artists of the time.

Om Rachawej, a well-known Thai comic artist who had recently completed a comic adaptation of the king’s literary work “Khun Thongdang,” expressed his desire to produce a Buddhist comic to Amarin Publishing in 2007. The publishing house’s owner immediately agreed to the plan. The story of Lord Buddha and his followers was adapted into 15 full-color comic books over the course of 12 years by a team of comic artists. The comic series has remained popular and in print to this day.(Om Ratchawej, personal communication, March 30, 2021).

พุทธศิลป์ : การ์ตูนไทย

การ์ตูนคอมมิคในประเทศไทยก่อกำเนิดมาได้ประมาณ ๘๐ ปี โดยก่อนหน้านั้นอาจมีเป็นรูปวาดการ์ตูนภาพล้อและการ์ตูนโฆษณาในลักษณะภาพประกอบ ยุคเริ่มแรกของการ์ตูนไทยได้รับอิทธิพลจากยุโรป โดยมีการวาดจำลองลายเส้นจากต้นฉบับและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยจนได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่นักอ่าน เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นแนวแอ๊กชั่น สู้กันด้วยดาบและปืน อีกทั้งยังมีแนวตลกสดใสสไตล์เพื่อครอบครัวด้วย ท่ามกลางกระแสนั้นยังมีการ์ตูนซึ่งอาจจะต้องเรียกว่าภาพประกอบทางพระพุทธศาสนาก่อกำเนิดขึ้นมา โดยนักวาดชื่อดังแห่งยุคสมัย ได้แก่เหม เวชกร, ปยุต เงากระจ่าง, คำนวณ ชานันโท ฯลฯ โดยเน้นเรื่องพระพุทธประวัติและชาดกเป็นหลัก

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ หลังจากที่อาจารย์โอม รัชเวทย์ นักวาดการ์ตูนแนวเยาวชนและครอบครัว ได้วาดการ์ตูนจากบทพระราชนิพนธ์เรื่อง คุณทองแดง เสร็จ ก็ได้แสดงเจตจำนงค์ต่อสำนักพิมพ์อัมรินทร์ฯ ว่าในแวดวงการ์ตูนไทยยังขาดหนังสือที่สร้างเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาและควรจะได้จัดทำขึ้นมาอย่างจริงจัง ซึ่งเจ้าของสำนักพิมพ์มีจิตกุศลเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็อนุมัติโครงการในทันที โครงการการ์ตูนพระพุทธศาสนามีทีมงานวาดหลายท่าน ใช้ระยะเวลานาน ๑๒ ปี เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวพระพุทธประวัติและพุทธสาวกเป็นการ์ตูนกว่า ๑๕ เล่ม โดยยังมีการพิมพ์ซ้ำจนถึงทุกวันนี้ (โอม รัชเวทย์, สัมภาษณ์ 2021)


BUDDHIST ART: MOTION PICTURES

Film is yet another human innovation that generates the illusion of motion by playing sequences of image at a specific speed. “Buddhadev” was the first documented film about Buddha’s life. In 1923 AD, it was a silent film directed by the well-known Indian filmmaker Dadasaheb Phalke.

There have been several attempts to make films about Lord Buddha. Without a doubt, Bernardo Bertolucci’s “Little Buddha” (1993). The movie was one of the most well-received Buddha movies of all time.

In Thailand, “The Buddha” was brought to silver screens in a form of 2D animation produced by Dr. Wallapa Phimtong. The animation was released in 2007. In 2013, Bhupendra Kumar Modi, an Indian producer developed a hit “Buddha” as TV series.

Motion Picture remains an effective technology to bring the legacy of Lord Buddha and his teachings to the mass.

พุทธศิลป์ : ภาพเคลื่อนไหว

ภาพยนตร์เป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์โดยนำภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกันแล้วเล่นในอัตราความเร็วหลายภาพต่อวินาที ทำให้เกิดภาพลวงตาว่ามีการเคลื่อนไหว ภาพยนตร์จัดเป็นสื่อที่สามารถใช้ถ่ายทอดเรื่องราวได้ดี ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทอดพระพุทธประวัติคือ “Buddhadev” ภาพยนตร์เงียบที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ โดย Dadasaheb Phalke ผู้กำกับชาวอินเดีย

มีผู้กำกับหลายท่านได้สร้างภาพยนตร์พุทธประวัติ เรื่องที่ได้รับความนิยมและเป็นที่โจษขานคือเรื่อง “The Little Buddha” (๒๕๓๖) โดย Bernardo Bertolucci ผู้กำกับชาวอิตาเลี่ยน (ภาพหัวกระดาษ)

ในไทยเองก็มีการผลิตภาพยนตร์แอนนิเมชั่น ๒ มิติ เรื่อง “พระพุทธเจ้า” ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ อำนวยการสร้างโดย ดร.วัลลภา พิมพ์ทอง ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการเผยแพร่พระพุทธประวัติที่น่าสนใจ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ผู้อำนวยการสร้างชาวอินเดีย Bhupendra Kumar Modi ได้ผลิตภาพยนตร์ซีรี่ย์ พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีทั่วโลก

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหวได้ถูกใช้ถ่ายทอดเรื่องราวพระพุทธประวัติตามกระแสนิยมการบริโภคสื่อของโลก และคาดว่าจะยังคงมีการสืบสานพระพุทธศาสนาด้วยสื่อนี้ต่อไป