RELATED THEORIES

NARRATOLOGY

Mandred Jahn claims Narratology is a study of storytelling. The concept itself may seem complicated, but it can be decoded into a short question—“Who tells what and how?”. The diagram below depicts the concept of narratology in its simplest form.

ทฤษฎีการเล่าเรื่อง

Mandred Jahn (2017) กล่าวถึงทฤษฎีการเล่าเรื่องว่าแม้ศาสตร์การเล่าเรื่องจะดูมีความซับซ้อนแต่ก็สามารถแปลงเป็นคำถามได้สั้น ๆ คือ “ใคร เล่าเรื่องอะไร อย่างไร?” โดยสามารถนำเสนอในรูปแบบแผนผังความคิดดังนีิ้

The above diagram shows the core concept of Narratology. The storyteller can be a writer, a painter, a sculptor, or an artist of any kind. He or she can choose to tell the story in either homo-diegenic (first-person view) or hetero-diegenic (third-person view). The story can be told relative to the time perceived by the audience. The storyteller may shuffle the story sequences and present the story from various points of view.

จากผังภูมิข้างต้นจะเห็นได้ว่า คนเล่าในเชิงงานสร้างสรรค์อาจเป็นผู้เขียน จิตรกร ประติมากร หรือศิลปิน ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่องโดยสามารถเลือกที่จะเล่าในมุมมองบุคคลที่ ๑ หรือมุมมองบุคคลที่ ๓ เล่าเหตุการณ์โดยอาศัยโครงเรื่องหรือเหตุการณ์ดังกล่าว อันประกอบด้วยตัวละคร สิ่งของและสถานที่ ผ่านวิธีการเล่าแบบย้อนอดีตหรือปัจจุบัน อาจจะเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างกระชับหรือยืด และอาจทำการสลับลำดับการเล่าเรื่องและเลือกนำเสนอในมุมมองต่าง ๆ

PERCEPTION THEORY

Humans are born with nerves and sensory systems. These are crucial parts of the way we learn through physical perceptions. The organs responsible for such perceptions are the eyes, the ears, the noses, the tongues, and the skin. Nerves relay the signals to the brain, which interprets them as sight (vision), sound (hearing), smell (olfaction), taste (gustation), and touch (tactile perception). According to scientific studies, a part of our brain—the cerebral cortex contains neurons that receive and interpret sensory signals. More than 40% is for vision, 8% for tactile perception, 3% for hearing, and less than 1% for olfaction (Kandel, Schwart, & Jessell, 2000).

ทฤษฎีการรับรู้

มนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดมาอยู่บนพื้นฐานของการรับรู้ทางกายภาพ หรือจากสัมผัสต่าง ๆ โดยการรับรู้ทางกายภาะเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ การรับรู้ทางกายภาพของมนุษย์สามารถรับได้ผ่านเครื่องรับประเภทต่าง ๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งจะกลายเป็นวิธีการรับรู้แบบต่าง ๆ คือ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัส โดยสมองจะรับสัญญาณจากเครื่องรับเหล่านี้และทำการแปลงเป็นประสาทสัมผัสที่ได้รับ จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าสมองส่วน Cerebral Cortex ของมนุษย์ที่ใช้เซลล์ประสาทสมองหรือ neuron ในการรับและแปลงสัญญาณประสาทต่าง ๆ โดยกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์เป็นส่วน ของการรับรู้ด้วยการ มองเห็น ๘ เปอร์เซ็นต์สำหรับการสัมผัส ๓ เปอร์เซ็นต์สำหรับการได้ยิน และน้อยกว่า ๑ เปอร์เซ็นต์สำหรับการรับกลิ่น (Kandel, Schwart, & Jessell, 2000)

VARK LEARNING THEORY

VARK is a learning theory developed by Neil D. Fleming in 1987 AD. This theory proposes the concept that everyone has their preferred method of learning. By choosing the suitable method, the person will yield the best possible learning outcome (Fleming, 2014).

The VARK theory categorizes as follow:

  1. Visual A person who prefers this mode of learning can learn best when seeing visual demonstration.

  2. Auditory A person who prefers this learning mode can learn best when employing step-by-step audio instruction as the content delivery method.

  3. Read-Write A person who prefers this learning mode can learn best by self-learning through reading and writing of the contents.

  4. Kinesthetic A person who prefers this learning mode can learn best by participating.

The works developed in this research utilized this theory by incorporating moving images, sound, alphabets, and activities.

ทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้ VARK

VARK เป็นทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้แบบหนึ่งซึ่งถูกคิดค้นโดย Neil D. Fleming ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เสนอแนวคิดว่าแต่ละบุคคลมีความถนัดในการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน การใช้รูปแบบให้ตรงกับความถนัดจะทำให้การเรียนรู้ของบุคคลนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (Fleming, 2014)

ทฤษฎีนี้แบ่งการเรียนรู้ตามความถนัดของคนดังนี้

  1. การได้เห็น บุคคลที่ถนัดการเรียนรู้ด้วยการมองเห็นนั้น จะเรียนรู้ได้ดีก็ต่อเมื่อได้เห็นการสาธิต ให้ดูเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา

  2. การได้ยิน บุคคลที่ถนัดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินนั้น จะเรียนรู้ได้ดีก็ต่อเมื่อได้ยินการอธิบาย การสอนเป็นขั้นเป็นตอน

  3. การอ่าน-เขียน บุคคลที่ถนัดการเรียนรู้ด้วยการอ่านและเขียนนั้น จะเรียนรู้ได้ดีก็ต่อเมื่อได้อ่านชุดความรู้หรือสิ่งที่ต้องการศึกษาด้วยตนเอง

  4. การมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพ

บุคคลที่ถนัดการเรียนรู้ประเภทนี้ จะต้องได้ลองทำกิจกรรมนั้น ๆ ด้วยตนเอง ถึงจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ชุดงานสร้างสรรค์ในงานวิจัยนี้ใช้แนวทฤษฎีนี้ในการพัฒนาโดยมีการนำเสนอทั้งรูปแบบภาพ เสียง ตัวอักษร และการมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพ

PYRAMID OF LEARNING

The pyramid of learning is a learning theory developed by Edgar Dale. He claimed that the more engaging the media, the more the audience understands and can recall the contents. According to the theory, he categorized the level of activities into three categories 1. “Symbolic Experience” 2. “Iconic Experience” and 3. “Direct and Purposeful Experience”. (Lee & Reeves, 2007).

The works developed in this research are under the “Contrived Experience” category which according to this theory ranks as Direct and purposeful experience. This level is considered one of the most effective learning methods.

ทฤษฎีกรวยการเรียนรู้

Edgar Dale ผู้คิดค้นทฤษฎีกรวยแห่งการเรียนรู้ กล่าวว่าการที่ผู้รับข้อมูลมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากกว่าแค่ การอ่าน การฟัง หรือการมอง นั้นจะทำให้สามารถเข้าใจและจดจำสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น Edgar Dale ได้แบ่งระดับการมีส่วนร่วมเป็น ๓ ระดับประสบการณ์ ๑.ประสบการณ์แบบสัญลักษณ์ ๒.ประสบการณ์แบบรูปธรรม และ ๓.ประสบการณ์ตรงแบบการได้ทำอย่างมีความหมาย (Lee & Reeves, 2007)

ผลงานสร้างสรรค์ในงานวิจัยนี้เป็นการจำลองประสบการณ์ด้วยการใช้วิทยาการความเป็นจริงเสมือน และถูกจัดให้อยู่ในระดับการเรียนรู้แบบประสบการณ์ตรงแบบการได้ทำอย่างมีความหมาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ตามหลักการและแนวคิดของทฤษฎีนี้