CONSULT EXPERTS

SUITABILITY OF VR IN THIS RESEARCH

The researcher performed in-depth interviews with experts from related fields after experiencing the prototypes of the Enlightenment New Media Art to come to the conclusion regarding the suitability of VR as a Buddhist learning platform.

  1. Phra Kru Udom Bodhivides, Dharma Ambassador (India-Nepal), abbot of Wat Ayodhaya Rajchadhani India, and the president of Dharma Sapling Foundation. An expert in Buddhism.

  2. Prof. Chedha Tingsanchali (PhD), Faculty of Archeology, Silpakorn University. An expert in Indian History.

  3. Mr. Om Ratchawej, Comic Artist. An expert in Buddhist Comic.

  4. Mr. Nat Yoswatananont, Managing director of Igloo Studio, the director of the animation “9 Satra”. An expert in animation.

  5. Asst. Prof. Thammasak Aueragsakul, Digital Art Faculty-Rangsit University. An expert in Digital Art.

  6. Prof. Emeritus Preecha Thaothong, National Artist (Visual Arts).

  7. Assoc. Prof. Pisprapai Sarasalin, Dean of College of Design- Rangsit University. An expert in Design Art.

  8. Mr. Martin Sjorberg. An expert in visual arts.

  9. Mr. Jitsing Somboon, New Media Artist and a former PLAYHOUND creative director.

  10. Dr. Kongkiat Hirunkerd, Digital Media Design- Rajamangala University of Technology Rattanakosin. A technology expert.

According to a Buddhist specialist, virtual reality (VR) is an advancement that can take viewers to a simulated environment through a head-mounted display, and it can be considered a modern [Buddhist] learning tool. Over time, the mediums used as Buddhist learning instruments have evolved and modified. Until now, comic books, animation, and motion pictures have all been suitable mediums. VR would undoubtedly follow as a fitting tool for studying Buddhism.

The Buddhist comics expert reassured that the medium may evolve over time, just as comics and animation have in portraying the life of Lord Buddha. VR is being welcomed with open arms by younger generations as a new platform. VR, according to a design art expert, will improve the learning experience because it can not only replicate virtual environments but also add interactive elements. According to the technology expert, this technology will continue to evolve and gain widespread acceptance. All ten experts agree that VR art in the way proposed by the researcher is a good Buddhist learning method.

The researcher conducted a field experiment to measure the efficacy of VR as a learning platform against other mediums to further reassure about VR’s suitability as a Buddhist learning tool. Audiences are more interested in virtual reality and able to spend more time watching content in virtual reality than in other mediums, according to the analysis. The study also found that viewers would retain information better in VR than in other media formats. This research was presented at the IEEE VR 2019 conference in Osaka, Japan. (Karnchanapayap, 2019).


ความเหมาะสมของ VR ในงานวิจัย

จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง ๑๐ ท่าน หลังการรับชมต้นแบบผลงานเพื่อสรุปถึงความเหมาะสมในการนำ VR มาใช้ในการ สร้างสื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนา

๑. พระครูอุดมโพธิวิเทศ พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดอโยธยาราชธานี ประเทศอินเดีย และประธานมูลนิธิกล้าธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาพระพุทธศาสนา

๒. ศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณ คดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

๓. อาจารย์โอม รัชเวทย์ ศิลปินผู้ถ่ายทอดเรื่องราวพุทธประวัติในรูปแบบคอมมิค ผู้เชี่ยวชาญด้านการตีความพุทธประวัติและการเล่าเรื่องเป็นภาพ

๔. คุณณัฐ ยศวัฒนานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Igloo Studio ผู้ผลิตและกำกับภาพยนตร์แอนนิเมชั่น “๙ ศาสตรา” ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนนิเมชั่น

๕. ผศ. ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล อาจารย์ประจำ 􀂴คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านงานศิลปะดิจิทัล

๖. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม)

๗. รศ.พิศประไพ สาระศาลิน คณบดี วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ

๘. คุณ Martin Sjöberg ศิลปินและประติมากรร่วมสมัยชาวสวีเดน

๙. คุณจิตต์สิงห์ สมบุญ ศิลปินอิสระ และอดีต Creative Director แบรนด์ PLAYHOUND by GREYHOUND ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวมีเดียอาร์ต

๑๐. ดร.ก้องเกียรติ หิรัญเกิด อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาได้กล่าวว่า วิทยาการความเป็นจริงเสมือนเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำผู้ชมเข้าสู่โลกเสมือนจริงโดยการรับชมผ่านจอแสดงผลแบบสวมศีรษะ ซึ่งถือว่าเป็นสื่อในการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ทั้งนี้รูปแบบสื่อในการศึกษาพระพุทธประวัติก็มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เช่น การใช้การ์ตูน แอนนิเมชั่นหรือภาพยนตร์ในการเล่าเรื่องราวพระพุทธประวัติ ดังนั้นวิทยาการความเป็นจริงเสมือนจึงเป็นอีกหนึ่งสื่อที่สามารถใช้ในการเรียนรู้พระพุทธศาสนาได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนำเสนอพระพุทธประวัติในรูปแบบการ์ตูนคอมมิคกล่าวว่า การที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนก็มีความนิยมในการเสพสื่อแตกต่างออกไปด้วย สื่อที่ผลิตด้วยวิทยาการความเป็นจริงเสมือน เป็นสื่อที่เกิดมาใหม่และคนรุ่นใหม่ก็มีแนวโน้มที่จะยอมรับและบริโภคสื่อนี้ เหมือนอย่างเช่นในยุคนี้ที่การ์ตูนคอมมิคหรือแอนนิเมชั่นเป็นที่นิยมและสามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดพระพุทธประวัติได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและการออกแบบให้ข้อคิดว่าการใช้วิทยาการความเป็นจริงเสมือนในการสร้างสื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนานั้นมีความแตกต่างจากสื่อประเภทอื่นเพราะนอกจากจะทำให้ผู้ชมเหมือนได้เข้าไปอยู่ในอีกมิติแล้ว ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้อีกด้วย ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการความเป็นจริงเสมือนกล่าวว่าวิทยาการนี้จะมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง ๑๐ ท่านเห็นว่าเป็นสื่อที่เหมาะสมและน่าสนใจในการพัฒนาเป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธประวัติ

ผู้วิจัยได้ทำการทดลองภาคสนามถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพของ VR ในการใช้เป็นสื่อใหม่ในการเรียนรู้พบว่า VR ทำ ให้ผู้ชมสนใจรับชมนานกว่าสื่อประเภทอื่น โดยผู้ชมยังสามารถจดจำเนื้อหาที่นำเสนอด้วย VR ได้มากกว่าสื่ออื่น ๆ การทดลองชุดนี้ได้นำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IEEE VR 2019 ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น (Karnchanapayap, 2019)